วันอาทิตย์ที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2556

วิวัฒนาการของเครื่องคิดเลข

วิวัฒนาการของเครื่องคิดเลข

     เมื่อมนุษย์รู้จักการคิด รู้จักการนับ ก็เริ่มมีความพยายามหาวิธีการ  ในการนับของตัวเอง โดยครั้งแรกก็ใช้นิ้วมือช่วยในการนับ เมื่อนิ้วมือเป็นอุปกรณ์ที่ไม่เพียงพอสำหรับการนับ ก็พยายามคิดหาอุปกรณ์อย่างอื่น มาแทน โดยเริ่มนับก้อนหิน ก้อนกรวด ปมเชือก เปลือกหอย
 
    ต่อมาความคิดของมนุษย์ก็มีพัฒนาการขึ้น  รู้จักคิดในสิ่งที่ยากและซับซ้อนการนับมากและต่อเนื่องขึ้น เขาจึงหาวิธีที่จะทำการรวบรวมการนับของเขาไว้ด้วยกัน ก็หาวิธีใหม่โดยการใช้วิธีการจดบันทึกสิ่งของ แรกเริ่มโดยการขีดบนพื้นดิน ต่อมาก็ใช้บันทึกลงบนกระดาษ
 
   เมื่อมนุษย์ มีความต้องการด้านการคำนวณมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นทางด้านคณิตศาสตร์ หรือวิทยาศาสตร์ นักคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์จึงได้คิดค้นอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อนำมาช่วยในการนับและการคำนวณ และเมื่อประมาณ 2600 ปี ก่อนคริตศักราช มีชาวจีน ได้ประดิษฐ์เครื่องมือการนับ ซึ่งถือเป็นเครื่องคำนวณเครื่องแรก เรียกว่า ลูกคิด (Soroban or Abarcus) เพื่อใช้ในการคำนวณที่ค่อนข้างง่าย และลูกคิดยังเป็นเครื่องคิดเลขที่มีการใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน ลักษณะการทำงานของลูกคิดนั้น ใช้วิธีการนับ ซึ่งเป็นพื้นฐานของ คอมพิวเตอร์ดิจิตอล (Digital Computer) แต่ลูกคิดยังมีข้อเสีย คือ ไม่สามารถบันทึกการคำนวณเอาไว้ตรวจสอบไม่ได้ มนุษย์จึงพยายามหาวิธีการผ่อนแรง ด้วยการสร้างเครื่องมือคำนวณ ชนิดต่างๆ ขึ้นต่อไป
ในปี ค.ศ. 1617 : จอห์น เนปียร์ (John Napier) นักคณิตศาสตร์ชาวสก็อตแลนด์ ได้สร้างคิดอุปกรณ์ที่ช่วยในการคูณ การหาร หรือถอดกรณฑ์ให้ง่ายขึ้น เรียกอุปกรณ์ชนิดนี้ว่า ตารางลอกการิทึม หรือ Napier's bone
ในปีถัดมา : วิลเลียม ออกเกด (Willium Ougtred) นักคณิตศาสตร์ ชาวอังกฤษ ได้ผลิตไม้บรรทัดคำนวณ (Slide Rule) เพื่อช่วยในการคูณซึ่งนิยมใช้กันมากในงานด้านวิศวกรรมและงานด้านวิทยาศาสตร์
 
     ในปี ค.ศ. 1623 : เบล์ส ปาสคาล (Blaise Pascal) นักปรัชญาและนักวิทยาศาสตร์ ชาวผรั่งเศส ซึ่งได้ถูกขึ้นชื่อไว้ในประวัติศาสตร์ว่าคือผู้คิดค้นและผู้ประดิษฐ์เครื่องคิดเลขเครื่องแรกของโลก ซึ่งก็คือเครื่องจักรกลที่สามารถบวกและลบได้ในรูปแบบของจำนวนเลขฐานสิบ โดยใช้ฟันเฟืองเป็นตัวทดกันได้ 8 ตัว วางขนานเป็นแนวนอน โดยตำแหน่งของวงล้อนี้จะมองเห็นจากภายนอก ส่วนตัวเลขจะไปปรากฎที่ฝาครอบวงล้อ แต่ละวงจะมีฟันเฟืองอยู่ 10 อัน ซึ่งแต่ละอันจะแทนเลข 1 หลักนั่นเอง ดังนั้น เมื่อเฟืองหมุนครบ 10 ก็จะมาเริ่มต้นที่ 0 ใหม่ แล้วทำให้เฟืองที่อยู่ถัดไปหมุน 1 หลัก ซึ่งเป็นการทดเลขขึ้นไปนั่นเอง จากการทำงานของเครื่องบวกเลขนี้ เป็นหลักการเช่นเดียวกับการวัดระยะทาง ตามที่ปรากฏบนหน้าปัทม์รถยนต์ทั่วๆไป
ในปี ค.ศ. 1646 : กอทฟริด วิลเฮลม ลิปนิซ (Gottfried Wilhelm Leibniz) นักประดิษฐ์ชาวอเมริกัน ได้ประดิษฐ์เครื่องคำนวณที่สามารถคูณ หารและหารากที่สอง เรียกเครื่องมือชนิดนี้ว่า อาริทโมมิเตอร์ (Arithmometer Machine)
 จากนั้นหลายร้อยปี  วิวัฒนาการก็เดินทางต่อมาเรื่อยๆ จนถึงยุคของวิลเลี่ยม สเวียด เบอร์ร็อคส์ (William Seward Burroughs) เขาได้ประดิษฐ์เครื่องมือในการคำนวณ ขึ้นมาเป็นครั้งแรก และยื่นจดทะเบียนสิทธิบัตรในปี 1885 สำหรับ 'Calculating Machine' ซึ่งได้สิทธิบัตรในปี 1888 และได้สร้างระบบการคำนวณสำหรับธนาคารในยุคนั้นขึ้นมา

    ต่อมาหลังจากวิลเลี่ยมเสียชีวิตไปแล้วบริษัทของตระกูลเขาก็ยังคงพัฒนาระบบการคำนวณที่ซับซ้อนมากขึ้นเรื่อยๆ
    การพัฒนาและการคิดค้นเครื่องมือคำนวณของคนเก่าแก่ในสมัยนั้นได้ทำให้หลายคน ได้รับแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ จนมีสิ่งใหม่ๆ เกิดขึ้น

     และในช่วงปี 1970 หรือ 42 ปีมานี้เอง บริษัทที่ประดิษฐ์ก็คือบริษัทเทคโนโลยีชื่อก้องโลก อย่าง Texas Instruments, Incorporated (TI) สร้างขึ้นครั้งแรกในปี 1966 โดยทีมงานอย่าง Jerry D. Merryman, James H. Van Tassel และ Jack St.Clair Kilby โดยทั้งหมดนี้ได้รับแรงบันดาลใจจากจินตนาการและความคิดของคนสมัยก่อนมา ต่อยอดแทบทั้งสิ้น